วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

การวิเคราะห์ SWOT Analysis ของ บริษัท โตโยต้า

การวิเคราะห์ SWOT Analysis ของ บริษัท โตโยต้า

          ในปัจจุบันบริษัท โตโยต้า ถือว่าเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งเป็นผลจากการบริหารที่มีคุณภาพในทุกๆ ปัจจัย ขั้นตอน กระบวนการ และระบบ ทั้งภายในองค์กรของตนเองและเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจโดยความสำเร็จดังกล่าว โตโยต้าได้เผชิญกับปัญหาด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเรียกคืนรถรุ่นต่างๆ ทั่วโลกที่มีปัญหากว่า 10 ล้านคัน เพื่อเข้ารับการตรวจสอบพร้อมทั้งแก้ไข เนื่องจากพบว่าปัญหาเกิดจากความบกพร่องด้านคุณภาพและการออกแบบโดยได้ขอรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งสร้างภาพลักษณ์ เพื่อรักษาชื่อเสียงขององค์กรที่จะไม่ยอมให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพขึ้นอย่างเด็ดขาดและอีกวิกฤตการณ์หนึ่งที่โตโยต้าได้เผชิญคือ สถานการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ เนื่องจากโรงงานประกอบรถยนต์ในญี่ปุ่นได้หยุดสายการผลิต เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ แต่โตโยต้าก็สามารถกลับมาเดินสายการผลิตการประกอบรถยนต์ทุกแห่งในประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 หลังจากสถานการณ์การฟื้นตัวดีขึ้น โดยดำเนินการผลิตตามออเดอร์ที่ยังอยู่ในระดับสูงตามภาคการผลิตรถยนต์ และยอดค้างส่งมอบรถยนต์สําหรับประเทศไทยยอดจองรถยนต์ในงานมอเตอร์โชว์ช่วงต้นปีที่ผ่านมาโตโยต้าก็ยังเป็นอันดับ หนึ่งที่มียอดจองรถสูงสุดอีกทั้งได้มีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่หลายรุ่นดังนั้นออเดอร์ชิ้นส่วนรถยนต์จะยังคงมี เข้ามาอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของความต้องการใช้รถยนต์ ยอดขายที่ขยายตัวได้ดีเป็นผลมาจาก

      1. ภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
      2. รายได้ของเกษตรกรที่ขยายตัวได้ดีจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น
      3. การจ้างงานที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
      4. ความคล่องตัวของการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ และ อัตราดอกเบี้ย ก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
      5. การเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด

      กลยุทธ์ใหม่ของโตโยต้า คือแผนทุ่มเทเพื่อเร่งการผลิตรถไฮบริด ซึ่งเป็นรถยนต์ประหยัดพลังงาน และการพัฒนาตลาดใหม่ในประเทศที่เศรษฐกิจกําลังเติบโตมากกว่ากลุ่มประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถแข่งขันได้กับคู่แข่งรายสําคัญทั้งในตลาดญี่ปุ่นและทั่วโลก แม้จะต้องยอมรับแผนธุรกิจที่มีอัตรากําไรที่ไม่เติบโตมากนัก แต่ต้องการมีความเป็นเลิศในด้านคุณภาพอย่างยั่งยืน


1. จุดแข็ง (Strength)
....เป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งเป็นผลจากการบริหารที่มีคุณภาพในทุกๆ ปัจจัย ขั้นตอน กระบวนการ และระบบ

       ด้านราคามีราคาที่ไม่สูงมากซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับคู่แข่งแล้วมีราคาที่ต่ำกว่า ซึ่งจะช่วยทําให้กลุ่มเป้าหมายนั้นมีการตัดสินใจที่ง่ายขึ้นด้วย

เป็นเทคโนโลยีตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในเรื่องการประหยัดพลังงานและลดมลภาวะ รักษาสิ่งแวดล้อม

2. จุดอ่อน (Weakness)

        1. ประเทศไทยยังไม่มีเทคโนโลยีในการผลิต และการออกแบบรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์เป็นของตนเอง

       2. ประเทศไทยยังให้ความสําคัญกับการวิจัยและพัฒนา เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วไม่มากเพียงพอ ซึ่งไม่เพียงแต่ในอุตสาหกรรมรถยนต์เท่านั้นยังรวมถึงอุตสาหกรรมอื่น ๆ ด้วย

       3. ประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรระดับสูงในด้านการผลิตและการออกแบบในอุตสาหกรรมรถยนต์รวมถึงชิ้นส่วนรถยนต์

      4. มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมรถยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์ ในประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำ

3. โอกาส (Opportunity)

      1. การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ํามัน ทําให้คนหันมาใส่ใจในการประหยัดน้ํามัน

      2. ผู้คนให้ความสนใจในเรื่องการลดภาวะโลกร้อนและการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

      3. รัฐบาลและประชาชนหันมาสนใจในการแก้ปัญหามลภาวะ โดยรัฐบาลอเมริกาเป็นผู้ผลักดันในการควบคุมปัญหามลภาวะอากาศ

4. อุปสรรค (Threat)

        โตโยต้าได้เผชิญกับปัญหาด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเรียกคืนรถรุ่นต่างๆ ทั่วโลกที่มีปัญหากว่า 10 ล้านคัน เพื่อเข้ารับการตรวจสอบพร้อมทั้งแก้ไข เนื่องจากพบว่าปัญหาเกิดจากความบกพร่องด้านคุณภาพและการออกแบบโดยได้ขอรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งสร้างภาพลักษณ์ เพื่อรักษาชื่อเสียงขององค์กรที่จะไม่ยอมให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพขึ้นอย่างเด็ดขาดและอีกวิกฤตการณ์หนึ่งที่โตโยต้าได้เผชิญคือ สถานการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมาส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของการผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น